ป่าเพื่อชีวิต
สถาบันลูกโลกสีเขียว ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สถาบันปลูกป่า ปตท. และคณะสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดําเนินการจัดงานสัมมนาวิชาการ “Forest for Lives ป่าเพื่อชีวิต เพื่อนําไปสู่ Forest Landscape and People for Sustainable Future” เพื่อนําเสนอเกี่ยวกับการจัดการและรักษา Forest Landscape ที่เชื่อมโยงสู่การจัดการในด้านดิน/ที่ดิน น้ำ ป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) และประเด็นอื่นๆ อาทิ วิถีพอเพียงที่ก่อให้เกิดความผูกพันอยู่ในบริบทของดิน น้ำ ป่า ให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน รวมทั้งสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่างๆ หรือ ต้านทานต่อภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ในงานสัมมนานี้ยังเปิดโอกาสให้คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย นําเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสู่สาธารณชนผ่านการตีพิมพ์ลง proceeding อีกด้วย
วัตถุประสงค์ของการจัดการสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อนําเสนอเกี่ยวกับการจัดการและรักษา Forest Landscape และสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อนําเสนอ เผยแพร่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเปิดโอกาสให้คณาจารย์ นักศึกษาและนักวิจัยนําเสนอผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ สู่สาธารณชน รวมทั้งสามารถนํางานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไปในอนาคต
ภายในงานนี้มีการนำเสนองานใน 3 หัวข้อ ดังนี้
หัวข้อที่ 1 : “ป่า... การสร้าง Resilience...สู่ระบบภูมิต้านทาน”
หมายถึง ระบบที่มีความสามารถต้านทานต่อภัยพิบัติ และฟื้นกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ตลอดจนหมายรวมถึงความสามารถของชุมชนที่จะพลิกฟื้นเมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจ (Economic Shock) โดยการรักษาป่าให้ยั่งยืนในอนาคต ไม่ใช่เพียงการปลูกป่าเท่านั้น แต่ต้องสร้างระบบภูมิต้านทานเพื่อให้ป่า/คน (ชุมชน) ซึ่งต้องมีการพิจารณาที่รอบด้าน มีการวางแผน และดําเนินการในหลายส่วนเพื่อให้ป่าคงอยู่ได้ อย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการเปลี่ยน สภาพภูมิอากาศ ตัวอย่างเช่นการเปลี่ยนพืชที่ปลูกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การเลือกต้นไม้ปลูก เพื่อป้องกันภัยดินถล่ม การจัดทําแผนชุมชนเพื่อเตรียมรับผล
กระทบจากโครงการพัฒนาของภาครัฐ การพัฒนาคนในพื้นที่ให้เป็นกลไกสําคัญในการอยู่ร่วมกับป่าอย่างเกื้อกูล เป็นต้น
หัวข้อที่ 2 นวัตกรรมภาคประชาชนเพื่อระบบอาหารและป่าที่ยั่งยืน (People Innovation for Sustainable Food Systems and Forest Landscape)
หมายถึง นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งประสบการณ์ของชุมชน ที่ช่วยทําให้เกิด การสร้างระบบอาหารและป่าที่ยั่งยืน โดยต้องมีการสร้างนวัตกรรมเพื่อเกษตร เพื่อไม่ให้พื้นที่เพาะปลูกที่ใช้ สําหรับผลิตอาหารไปเบียดเบียนพื้นที่ป่า พร้อมกับการสร้างนวัตกรรมป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าให้เป็นแหล่งผลิต อาหารควบคู่กันซึ่งจะทําให้เกิดสร้างระบบอาหารที่มีประสิทธิภาพและป่าที่ยั่งยืน เช่น (1) ขยายผลนวัตกรรม ภูมิปัญญาของชุมชนในการอนุรักษ์ป่าให้ขยายผลจากชุมชนหนึ่งสู่อีกหลายชุมชน การปลูกป่าโดยการใช้ หนังสติ๊ก การปลูกป่าชายเลนโดยการสร้างเนินดิน รูปแบบการบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า ที่นํามาสู่การรักษาป่า การสร้างกองทุนที่ได้จากผลผลิตจากป่าเพื่อนํากลับมาใช้หนุนเสริมอนุรักษ์ เป็นต้น (2) เพิ่มศักยภาพความมั่นคง ด้านอาหาร การเกษตรไม่บุกรุกพื้นที่ป่า โดยการปลูกพื้นที่เหมาะสมกับพื้นที่และมีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น รวมถึง การมองถึงการระบบอาหารแบบ Beyond Yield ตัวอย่างเช่น การปลูกพืชผสมผสานการทําสวนผักบนต้นไม้ การรักษาพันธุกรรมพืชพื้นถิ่นและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ (3) การสร้างผลประโยชน์ร่วมเพื่อการอนุรักษ์ป่า ตัวอย่างเช่น ความรู้ในการวัดค่าคาร์บอนเพื่อยกระดับการดูแลป่า การประเมินคุณค่าภูมิทัศน์ หุ้นส่วนในรูป ของ Social Enterprise ที่หนุนเสริมผลผลิตจากป่า เป็นต้น (4) ประเทศจะสร้างสมดุลเพื่อฝ่าวิกฤตเหล่านี้ ไปได้อย่างไร
หัวข้อที่ 3 การปลูกต้นไม้ “นอกป่า” (Trees outside Forest)
หมายถึง แนวคิดในการสร้างป่าควรได้รับการขยายไปในทุกๆ ที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน อาทิ ในเขตเมือง โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่รกร้าง(ที่เจ้าของไม่ใช้งาน) ซึ่งเน้นเห็นผลเร็ว(เพื่อทันใช้งาน) ลดพื้นที่ สะท้อนความร้อน รักษาความชุ่มชื้นของพื้นที่ ในขณะเดียวกันเกษตรกรที่มีการศึกษาธรรมชาติก็สามารถ สร้างป่า “นอกป่า” ได้ เช่นตัวอย่าง ป่าเศรษฐกิจ ป่าในเมือง การสร้างป่าในสวนยางพารา สร้างป่าหัวไร่ปลายนา ป่าในอุตสาหกรรมป่าในวัด ป่าในโรงเรียน เป็นต้น
กลุ่มเป้าหมาย สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ NIDA และมหาวิทยาลัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงาน/องค์กรสิ่งแวดล้อม เช่น มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย สถาบันปลูกป่า มูลนิธิสืบนาคะเสถียร มูลนิธิธรรมรัตน์ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน มูลนิธิชีววิถี สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สภาวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และองค์กรอิสระ หรือองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง ชุมชน