บ้านห้วยหินลาดใน จ.เชียงราย ชมวิถีเกษตรธรรมชาติชาวปกาเกอะญอ
บ้านห้วยหินลาดในเป็นชุมชนปกาเกอะญอ หรือสกอร์ การปลูกข้าวไร่หมุนเวียนเป็นวิถีชีวิตหนึ่งของคนที่นี้ วิธีการนี้เคยถูกภาครัฐเรียกว่าการทำไร่เลื่อนลอย ทว่า...เมื่อเวลาผ่านไป การปลูกข้าวแบบดั้งเดิมเช่นนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นวิถีเกษตรที่อิงธรรมชาติซึ่งน่าศึกษาเรียนรู้
บ้านห้วยหินลาดในมีประชากรแค่ 100 กว่าคน สำหรับชาวสกอร์ ธรรมชาติกับชีวิตเป็นเรื่องเดียวกัน การอยู่อย่างเคารพธรรมชาติ ทำกินแบบไม่ใช้สารเคมีของชาวบ้านจำนวนหยิบมืนี้แหละ ที่สามารถรักษาป่าขนาดหมื่นไร่นี้ไว้ได้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 ให้รอดพ้นจากสัมปทานป่าในระยะสั้นๆ และจากความขัดแย้งกับภาครัฐเมื่อมีการประกาศจัดตั้งเป็นพื้นที่อนุรักษ์จนทำให้ผืนป่าเหล่านี้เป็นป่าชุมชน การไม่รบกวนป่าก็คือการดูแลอย่างหนึ่ง การเก็บของป่าก็มีวิธีถนอมใช้ อย่างหน่อไม้จะเก็บแค่ในช่วง 3 เดือน เพื่อให้หน่อไม้แตกในเดือนที่ 4
ชาวสกอร์ยังนับถือเจ้าป่าเจ้าเขา บริเวณป่าต้นน้ำถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครไปทำกิน ไม่ตัดไม้ในป่าช้าเพราะเป็นบ้านของผีป่า ไม้ทำฝืนต้องเป็นไม้ตายไพร ต้นไม้ในป่าหลายต้นมีสายสะดือทารกติดอยู่ ตามความเชื่อดั้งเดิม เมื่อมีเด็กเกิดใหม่ บิดาจะนำสายสะดือทารกแรกคลอดใส่กระบอกไม้ไผ่ ปิดผ้า จักตอกมัดปากกระบอก เอาตะแหลวมาติดหน้ากระบอกแล้วไปผู้กับต้นไม่ใหญ่ที่มีผลดก
การผูกชีวิตใหม่กับต้นไม้ต้นหนึ่งก็การผูกชีวิตใหม่กับต้นไม้ต้นหนึ่งก็เพื่อให้คนกับธรรมชาติเติบโตไปด้วยกันดูแลกัน การยึดมั่นวัฒนธรรมพื้นถิ่นเช่นนี้มีส่วนช่วยให้ชาวบ้านพาตัวเองรอดพ้นบ่วงต่างๆมาได้ด้วยแนวคิดน้อมตัว ขอแบ่งปันจากธรรมชาติ
ท่องเที่ยวชมวิถีเกษตรธรรมชาติ
พื้นที่ปลูกข้าวไร่ของบ้านห้วยหินลาดในจะอยู่บริเวณเนินเขาใกล้หมู่บ้าน ชาวบ้านจะหมุนเวียนใช้พื้นที่ 6-8 ต่อ 1 รอบ โดยเริ่มจากเผาวัชพืชตอนเดือนเมษายน จากนั้นก็โรยเมล็ดผัก เช่น ผักกาด พริก มะเขือ เพื่อรอฝน เมล็ดผักพวกนี้จะช่วยให้ข้าวงามนับเป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่น่าสนใจ
กระทั่งถึงวันที่ดอกคำมอกหลวงบ้านหัวสีเหลืองเต็มต้นเป็นสัญญาณธรรมชาติว่าฝนไม่ทิ้งช่วงแล้ว เวลาใส่ข้าวก็มาถึง ในการทำเข้าไร่จะใช้เสียมแซะทำหลุมแล้วหยอดหรือ “ใส่ข้าว” จากนั้นค่อยกำจัดวัชพืชจนกว่าจะถึงฤดูเก็บเกี่ยวในเดือนพฤศจิกายนซึ่งจะได้ทั้งผลผลิตจากข้าวและพืชผัก
สำหรับคน มีพื้นที่ลุ่มยังมีรายได้เสริมจาก “เหละโงะ” หรือใบเมี่ยงที่คั่วเป็นชามีลูกพลับที่ผสมระหว่างพลับใหม่กับพันธุ์พื้นเมือง (พลับฤษี) ทนสภาพธรรมชาติไม่ต้องใช้ปุ๋ย รสชาติเหนือชั้นกว่าลูกพลับจากเมืองนอกหลายเท่า