การแก้วิกฤติหนี้สินชุมชนและนวัตกรรมการสร้างเศรษฐกิจชุมชน
ชุมชนบ้านสามขา ต หัวเสือ อ แม่ทะ จ ลำปาง
บริบทชุมชน
บ้านสามขา เป็นชุมชนที่เป็นลูกหลานของ “ติ๊บปาละ” ผู้เป็น 1 ใน 4 นักรบผู้กล้า แห่งล้านนาที่ร่วมกันปลดแอกจากการถูกพม่ายึดครองในครั้งโบราณ ที่มาของบ้านสามขามีหลายตานาน แต่ตานานที่ทาให้คนเกิดความสามัคคี คือเรื่องเล่าที่ว่ามาจากเก้งที่เหลือ 3 ขา เพราะการแย่งชิงกันเอง ตานานนี้เป็นเครื่องเตือนใจให้ชาวบ้านไม่เดินซ้ารอยประวัติศาตร์ที่พลาดพลั้ง
จุดเริ่มต้นการเป็นพื้นที่ตัวอย่างเกิดจากการปัญหาสองเรื่องหลัก คือเรื่องน้าและเรื่องหนี้...
การแก้วิกฤติหนี้สินชุมชนและนวัตกรรมการสร้างเศรษฐกิจชุมชน
การปรับตัวจากวิกฤติหนี้เสียของชุมชนที่สูงถึง 18 ล้านบาท มาสู่การสร้างกองทุนที่มีเงินหมุนเวียนมากกว่า 20 ล้านบาท โดยใช้กระบวนกการวิจัยแบบชาวบ้าน ขยายผลเป็นการสร้างเศรษฐกิจชุมชนเพื่อตอบโจทย์อนาคต
การบริหารจัดการทุนธรรมชาติอย่างบูรณาการ
เริ่มต้นจากฝาย มาสู่การจัดการทรัพยากรน้ำ ทำให้ชุมชนบ้านสามขาเป็นต้นแบบการสร้างฝายหลากหลายรูปแบบ และมีจำนวนมากกว่าหมื่นฝาย ความขยันสร้างฝายและป้องกันไฟอย่างต่อเนื่องทำให้ป่าฟื้นโดยไม่ต้องปลูก การเลิกใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชและแมลงทำให้ดินสะอาด กลายเป็นชุมชน “เกษตรอินทรีย์” ไปโดยปริยาย
หลักสูตร “ห้วยสามขา” กับการสร้างเยาวชน
“ห้วยสามขา : เห็ด ป่า นา ข้าว” คือการเรียนรู้ “ชีวิตบ้านสามขา” มีเป้าหมายให้เด็กรู้จักบ้านเกิด แม้เด็กที่ไปเรียนต่อข้างนอก เมื่อกลับมาบ้านก็ต้องมีที่ยืนในบ้านสามขา หมายถึง มีอาชีพที่อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เลี้ยงตัวได้ “ห้วยสามขา : เห็ด ป่า นา ข้าว” เป็นหลักสูตรที่ให้เด็กเรียน 40% ของหลักสูตรรวม นอกจากเด็กๆ ในระบบโรงเรียน เณรทุกรูปที่บวชในวัดสามขาก็ต้องเรียนในโรงเรียนปริยัติธรรม ทุกวันนี้หลักสูตรห้วยสามขายังมีชีวิตชีวา และเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนเหมือนในอดีต