คาร์บอนเครดิตในต้นไม้
การกักเก็บธาตุคาร์บอน คือ กระบวนการดึงคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศมาเก็บไว้ในแหล่งเก็บที่ใดที่หนึ่ง หรือนำคาร์บอนมาเก็บไว้นั่นเอง เช่น พืชสีเขียวทุกชนิดดูดคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ในกระบวนการหายใจแล้วเปลี่ยนจากคาร์บอนไดออกไซด์มาเป็นเนื้อไม้ โดยเนื้อไม้ทั่ว ๆ ไป มีความคาร์บอนอยู่ประมาณ 50% ซึ่งการปลูกต้นไม้ก็คือการดึงเอาคาร์บอนมาเก็บไว้ ทำให้คาร์บอนในชั้นบรรยากาศลดลง ด้วยเหตุนี้ป่าก็คือ ที่เก็บคาร์บอน ชั้นดีนี้เอง
การหมุนเวียนของคาร์บอนในป่า เป็นการเปลี่ยนรูปของคาร์บอนในบรรยากาศเปลี่ยนรูปที่สะสมไว้ในป่า เช่นต้นไม้และพืชสีเขียวดูดคาร์บอนไดออกไซด์ไปเก็บไว้เป็นเนื้อไม้ และใบไม้ ดินในป่าก็ช่วยเก็บคาร์บอนในรูปต่างๆ รากต้นไม้ที่กาลังเน่าเปื่อยผุพัง ใบและเนื้อไม้ที่กาลังเน่าเปื่อยผุพัง อีกทั้งดินป่าไม้ยังช่วยดูดซับก๊าซมีเทน ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้โลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์มากมาย สุดท้ายเป็นผลิตภัณฑ์จากต้นไม้ เช่น เสาเรือน กระดาน คาน ประตู เฟอร์นิเจอร์ ล้วนช่วยกักเก็บคาร์บอนได้เช่นกัน อาจกล่าวได้ว่าพืชที่มีชีวิต หรืออินทรีย์วัตถุที่ตาย ผลิตภัณฑ์จากไม้ต่างๆ ล้วนแล้วเป็นแหล่งรวมคาร์บอนในป่านั้นเอง
แหล่งรวมคาร์บอน 3 แหล่งใหญ่ที่สำคัญในป่า
1. มวลชีวภาพที่ยังมีชีวิตอยู่
- มวลชีวภาพเหนือพื้นดิน ได้แก่ ต้นไม้ พืชชั้นล่างต่าง ๆ รวมไม้พุ่ม เถาวัลย์
- มวลชีวภาพใต้ผิวดิน ได้แก่ รากต้นไม้ขนาดต่างๆ แต่มักไม่รวมรากที่มีขนาดน้อยกว่า 2มม.
2. ในอินทรียวัตถุหรือซากพืชที่ตายแล้ว
- ต้นไม้ที่ยืนต้นตาย หรือที่ล้มขอนนอนไพร หรือไม้ตายที่ฝังดิน
- ซากพืช ได้แก่ ซากพืชใบไม้ต่างๆ ที่ร่วงหล่นทับถมบนผิวดิน
3. คาร์บอนในดิน ได้แก่ ค่าออร์แกนิคคาร์บอน (อินทรียวัตถุ) ในดิน รวมในดินอินทรีย์ (Organic Soil) ด้วย มักหาลงไปในระดับความลึกของดินที่กาหนดไว้เช่น 30ซม.อาจรวมรากฝอยขนาดเล็ก ๆ ด้วย
เทคนิคในการวัดปริมาณคาร์บอน มี 2 เทคนิค
1. วิธีวัดการแลกเปลี่ยนคาร์บอน (C) ระหว่างแหล่งเก็บต่าง ๆ ในป่า และระหว่างป่ากับบรรยากาศภายนอก (flux based approach)
2. วิธีวัดปริมาณ หรือสต๊อกของคาร์บอนโดยตรง (Stock based approach) โดยวัดคาร์บอนในแหล่งเก็บต่าง ๆ ที่มีอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง วิธีนี้ทาได้ง่ายที่สุด โดยการสำรวจวัดไม้
==>>> การคำนวณปริมาณการกักเก็บคาร์บอนและค่าน้ำหนักแห้ง